ไฟย้อนกลับ (Flashback)
การเกิด ไฟย้อนกลับ (Flashback) เป็นปรากฏการณ์ของการไหลย้อนกลับของก๊าซออกซิเจนเข้าสู่สายท่อก๊าซเชื้อเพลิง (หรือการไหลย้อนกลับของก๊าซเชื้อเพลิงเข้าสู่สายท่อก๊าซออกซิเจน) แล้วเกิดปฏิกิริยาการลุกไหม้แล้วทําให้ระเบิด ซึ่งการเกิดระเบิดอาจเกิดขึ้นที่ด้ามเชื่อมก๊าซ สายท่อก๊าซ หรือท่อก๊าซการป้องกันปรากฏการณ์ไฟย้อนกลับ จะต้องมีการติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันไฟย้อนกลับ 4 ตําแหน่ง ดังนี้
รูปตําแหน่งการติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันไฟย้อนกลับ
รูปการติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันไฟย้อนกลับที่บริเวณทางออกของวาล์วปรับความดันและหัวเชื่อมก๊าซ
การตรวจสอบก่อนการใช้งาน
- ตรวจสอบการสวมใส่ของอุปกรณ์เชื่อมก๊าซและ ท่อข้อต่อ
- ตรวจสอบสภาพสายท่อก๊าซ (การฉีกขาด รอยแตก และข้อบกพร่องอื่นๆ)
- สวมใส่อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคลที่จําเป็นสําหรับงานเชื่อมก๊าซ
- ตรวจสอบบริเวณทํางานปราศจากสิ่งติดไฟง่าย
- ก่อนจุดไฟที่หัวเชื่อมก๊าซให้เปิดก๊าซกําจัดสิ่งสกปรก(Purge) ที่ตกค้างในสายท่อก๊าซ
- สําหรับจุไฟที่หัวเชื่อมก๊าซให้ใช้อุปกรณ์จุดติดไฟ(Spark lighter) หรือ ปืนถ่าน(Flint gun)
- จัดวางท่อก๊าซเชื้อเพลิงและท่อก๊าซออกซิเจนให้อยู่ห่างจากแหล่งความร้อน
- จัดเตรียมอุปกรณ์ดับเพลิงสําหรับในกรณีฉุกเฉิน
- หลังเสร็จสิ้นการใช้งานให้ปิดวาล์วจ่ายก๊าซที่ท่อก๊าซเชื้อเพลิงและท่อก๊าซออกซิเจน และถอดสายท่อก๊าซออกจากวาล์วจ่ายก๊าซ
มาตรการความปลอดภัยการเชื่อม
การติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันไฟย้อนกลับ (Flashback Arrestor) มีทั้งหมด 4 ตําแหน่ง คือ ที่ด้ามหัวเชื่อมก๊าซ 2 ตําแหน่ง และที่ท่อเชื้อเพลิงและท่อออกซิเจน 2 ตําแหน่ง ซึ่งการติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันไฟย้อนกลับตาม BCGA CODE OF PRACTICE CP 7 มีการกําหนดส่วนประกอบ(elements) ของอุปกรณ์ป้องกันไฟย้อนกลับตามตําแหน่งที่ติดตั้งไว้ดังต่อไปนี้
ตําแหน่งติดตั้งและส่วนประกอบอุปกรณ์ป้องกันไฟย้อนกลับ
กรณีที่ 1 สายท่อก๊าซที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเกินกว่า 6.3 มิลลิเมตรและ/หรือมีความยาวเกิน 3 เมตร สามารถติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันไฟย้อนกลับได้ 2 แบบ ดังนี้
กรณีที่ 2 สายท่อก๊าซที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกินกว่า 6.3 มิลลิเมตรและ/หรือมีความยาวไม่เกิน 3 เมตร
หมายเหตุ
NRV = วาล์วกันกลับ (Non-return Valve)
FA = วัสดุป้องกันเปลวไฟผ่าน (Flame Arrestor)
T-COV = วาล์วปิดแก๊สเมื่ออุณหภูมิสูง (TemperatureSensitive Cut-off Valve)
P-COV = วาล์วปิดแก๊สเมื่อความดันย้อนกลับ (Pressure Sensitive Cut-off Valve)
ส่วนประกอบในอุปกรณ์ป้องกันไฟย้อนกลับ แต่ละอย่างจะมีหน้าที่การทํางานที่แตกต่างกัน ดังนี้
(1) อุปกรณ์ป้องกันเปลวไฟผ่าน เป็นวัสดุที่มีคุณสมบัติทนอุณหภูมิสูงและมีลักษณะเป็นทรง กระบอกกลวง จึงมีคุณสมบัติพิเศษคือสามารถให้ก๊าซไหลผ่านได้ขณะใช้งาน แต่จะทําหน้าที่ดูดซับและป้องกันเปลวไฟที่ย้อนกลับ
(2) วาล์วกันกลับ ช่วยควบคุมการไหลในทิศทางเดียวโดยทําหน้าที่หยุดการไหลของก๊าซเมื่อเกิดแรงดันย้อนกลับ ไม่ให้ก๊าซไหลย้อนกลับผ่านวาล์วได้
(3) วาล์วปิดก๊าซเมื่อความดันย้อนกลับ จะทําหน้าที่หยุดการไหลของก๊าซเมื่อเกิดแรงดันย้อนกลับ โดยลิ้นวาล์วจะปิดทันที
(4) วาล์วปิดก๊าซเมื่ออุณหภูมิสูง ทําหน้าที่หยุดการไหลของก๊าซ จะทํางานเมื่อุณหภูมิภายในอุปกรณ์ป้องกันไฟย้อนกลับมีค่าประมาณ 90-100 ํC โดยลิ้นวาล์วที่ทําด้วยพลาสติกจะละลายปิดการไหลของก๊าซ
(5) วาล์วนิรภัย (Explosion pressure relief valve) ทําหน้าที่ระบายความดันส่วนเกิน เมื่อเกิดไฟย้อนกลับจนทําให้ความดันในอุปกรณ์สูง
l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l
ที่มา http://php.diw.go.th/safety/wp-content/uploads/2014/12/6.1.pdf