อันตราย!! ทำงานใน ที่อับอากาศ

ภายในพื้น ที่อับอากาศ มีก๊าซอะไรบ้าง

ค่ามาตรฐานที่ปลอดภัยในที่อับอากาศ

ชนิดของแก๊สที่ตรวจวัดในที่อับอากาศมีดังนี้

  • แก๊สออกซิเจน (O2) หน่วยเป็นเปอร์เซ็นต์ ปริมาตร/ปริมาตร
  • แก๊สไฮโดรเจนซัลไฟด (H2S) หน่วยเป็น ppm.
  • แก๊สคาร์บอนมอนนอกไซด์ (CO) หน่วยเป็น ppm.
  • แก๊สติดไฟได้ (Combustible gas) หน่วยเป็น % LEL

ระดับปริมาณแก๊สที่เสี่ยงอันตราย

  • ออกซเจนต่ำว่าร้อยละ 19.5 หรือมากกว่าร้อยละ 23.5 โดยปริมาตร (V/V)
  • ไฮโดรเจนซัลไฟด์ 50 ppm. ขึ้นไปในเวลา 10 นาที
  • แก๊สที่ติดไฟฟได้  (LEL)มีความเข้มข้นเกิน 10% ของค่า  LEL ของแต่ละชนิด

บรรยากาศที่เป็นอันตราย

  • 23.0%  ปริมาณที่ออกซิเจนมากเกินไป ช่วยการติดไฟรุนแรง
  • 19.5% ถึง 21%  ปกติ ปลอดภัย
  • 16%  หายใจเร็ว หัวใจเต้นแรง ง่วง เหงา หาวนอนและวิงเวียนศีรษะ
  • 12% หมดสติ
  • 6% ถึงแก่ชีวิต

อันตรายจากการทำงานใน ที่อับอากาศ

Carbon Monoxide (CO)

ไม่มีสี, ไม่มีกลิ่น มีผลต่อร่างกาย ทำให้การแลกเปลี่ยนออกซิเจนถูกขัดขวาง เกิดอาการมึนคง, สลบและเสียชีวิต ( CO จับกับ Hemoglobin ได้ดีกว่า O2 ถึง 200-300 เท่า)

ผลของ Carbon Monoxide (CO)

  • 50 ppm TWA      ค่าเฉลี่ย 8 ชม. การทำงาน
  • 400 ppm.              ปวดศีรษะใน 2-3 ชม.
  • 1600 ppm.           ปวดศีรษะ, คลื่นไส้ใน 20 นาที และเสียชีวิตใน 1-2 ชม.
  • 6400 ppm.           หมดสติและจะเสียชีวิตใน 10-15 นาที

Hydrogen Sulfide (H2S)

ไม่มีสี แต่มีกลิ่นเหมือนไข่เน่า มีความเป็นพิษสูง ทำให้เกิดการระคายเคืองต่อระบบทางเดินหายใจ

ผลของ Hydrogen Sulfide (H2S)

  • 0.13 ppm.      ได้รับกลิ่น
  • 10 ppm.          เริ่มระคายเคืองตา ไอ
  • 100 ppm.        ระคายเคืองตา และอาจหมดสติได้ใน 2-5 นาที
  • 500 ppm.        หมดสติและจะเสียชีวิตใน 30 นาที -1 ชม.

ทั้งนี้หากมีความจำเป็นต้องทำงานในพื้นที่อับอากาศ จำเป็นอย่างยิ่งที่บุคคลนั้นต้องได้รับการฝึกอบรมที่ถูกต้อง เกี่ยวกับการทำงานในพื้นที่อับอากาศ หลายครั้งที่เราได้ยินข่าว เกี่ยวกับการเสียชีวิตในการพื้นที่อับอากาศ ที่สามารถเสียชีวิตได้ทั้งผู้ทำงาน ผู้พลัดตกบ่อบำบัด และผู้ช่วยเหลือ ฉะนั้นแล้วก่อนที่จะคิดช่วยใคร ต้องมั่นใจว่าเราต้องปลอดภัยก่อน

 


ที่มา————————->http://xn--12c7bib7al3b7aeb6bob9a6x.com/

สนใจดูรายละเอียดสินค้าได้ที่ เพิ่มเติม

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *