ความปลอดภัยในการเชื่อมแก๊ส
การเชื่อมด้วยก๊าซเป็นการเชื่อมโดยอาศัยความร้อนจากเปลวไฟของก๊าซสองชนิดผสมกันระหว่างก๊าซ ออกซิเจนกับแก๊สเชื้อเพลิง โดยทั่วไปก๊าซเชื้อเพลิงที่ใช้อย่างแพร่หลาย คือ ก๊าซอะเซทีลีน (Acetylene) และ ก๊าซปิโตรเลียมเหลว (Liquefied petroleum gas: LPG) ดังนั้น การใช้งานโดยวิธีการเชื่อมด้วยก๊าซอาจจะมี ความเสี่ยงและอันตรายสูงหากมีการใช้งานอย่างไม่เหมาะสม
ส่วนประกอบของอุปกรณ์การเชื่อม
1. ท่อก๊าซออกซิเจนและท่อก๊าซเชื้อเพลิง
2. อุปกรณ์ปรับความดัน (Pressure regulator) จะต้องสวมแน่นพอดีกับทางออกของท่อก๊าซ
3. หัวเชื่อมก๊าซ (Torch )
4. สายท่อก๊าซออกซิเจนและก๊าซเชื้อเพลิง
5. อุปกรณ์ป้องกันไฟย้อนกลับ (Flashback arrestor)
รูปที่ 1 ส่วนประกอบอุปกรณ์การเชื่อมก๊าซ
เมื่อมีการเชื่อมก๊าซ ก๊าซที่อยู่ภายในท่อก๊าซออกซิเจนและท่อก๊าซเชื้อเพลิงจะไหลผ่านอุปกรณ์ปรับความดันมาผสมกันที่ด้ามหัวเชื่อมก๊าซ แล้วจะให้เปลวไฟความร้อนที่หัวเชื่อมก๊าซเพื่อนําไปใช้สําหรับตัดหรือเชื่อมชิ้นงาน
อันตรายจาการใช้งานเชื่อมก๊าซ
การใช้งานอุปกรณ์การเชื่อมหากไม่มีการใส่ใจความปลอดภัยในการปฏิบัติงานจะเป็นสาเหตุให้เกิดอุบัติเหตุได้ ซึ่งที่ผ่านมาล้วนเป็นเหตุทําให้พนักงานบาดเจ็บหรือเสียชีวิต
อันตรายที่รุนแรงของการเชื่อมก๊าซเมื่อเกิดอุบัติเหตุคือไฟไหม้หรือการระเบิด โดยมีปัจจัยต่างๆ ที่อาจทําให้เกิดเหตุดังต่อไปนี้
– มีสิ่งของที่ติดไฟง่ายในบริเวณที่ทําการเชื่อม
– การใช้งานหัวเชื่อมก๊าซอย่างไม่เหมาะสม
– ก๊าซรั่วไหลออกจากสายก๊าซ วาล์ว หรือชิ้นส่วนอื่นๆ
– ไม่มีอุปกรณ์ป้องกันไฟย้อนกลับ(Flashback arrestor)
– การขนส่งท่อก๊าซออกซิเจนอย่างไม่ปลอดภัย
รูปที่ 2 ไฟไหม้ท่อก๊าซเชื้อเพลิงและท่อก๊าซออกซิเจนเนื่องจากไม่มีการติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันไฟย้อนกลับ
รูปที่ 3 แผลไฟไหม้มือพนักงานเนื่องจากการเกิดไฟย้อนกลับ
สภาวะการทํางานที่ปลอดภัย
ข้อควรปฏิบัติ(Good practice) ในการทํางานเกี่ยวกับงานเชื่อมก๊าซ ควรมีระบบการขออนุญาตทํางานเกี่ยวกับการเชื่อมก๊าซ(Permit-to-Work) รวมถึงการตรวจประเมินอันตรายของสถานที่ทําการเชื่อม โดยจะต้องมั่นใจว่าในบริเวณดังกล่าวจะต้องไม่มีสิ่งที่ติดไฟง่ายหรือระเบิดได้อยู่ใกล้ๆ บริเวณที่ทําการเชื่อมก๊าซ
พนักงานทุกคนที่เกี่ยวข้องจะต้องได้รับการฝึกอบรมความปลอดภัยเกี่ยวกับอุปกรณ์และการใช้งานอุปกรณ์เชื่อมก๊าซ รวมทั้ง พนักงานที่ปฏิบัติงานเชื่อมก๊าซจะต้องสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคลอย่างเหมาะสมและพร้อมที่จะระงับเพลิงไหม้ในกรณีที่เกิดเหตุเพลิงไหม้ในบริเวณทํางาน
รูปที่ 4 ภาพความเสียหายของการะเบิดของท่อออกซิเจนเนื่องจากไม่มีการติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันไฟย้อนกลับ
ความปลอดภัยในการเชื่อมแก๊ส
ชนิดของหัวเชื่อมก๊าซจะต้องเหมาะสมกับงาน เมื่อหัวเชื่อมก๊าซ(Tip) ดับหรืออุดตันจะต้องมีการเปิดทําความสะอาด วาล์วใช้งานของหัวเชื่อมก๊าซควรจะมีโครงสร้างหรือการป้องกันมิให้เปิดออกเองได้โดยบังเอิญ
ข้อควรระวังการนําอุปกรณ์การเชื่อมก๊าซไปใช้งาน
– บริเวณที่ทํางานไม่ควรมีสิ่งที่ติดไฟง่าย
– สายท่อก๊าซ (Hoses) ไม่ควรสัมผัสกับสิ่งที่ติดไฟง่าย แหล่งที่เกิดประกายไฟ หรือแหล่งความร้อนอื่น ๆ
– เมื่อไม่มีการใช้งานหรือสิ้นสุดการใช้งาน วาล์วที่ด้ามเชื่อมก๊าซ(Gas torch) ต้องปิดทันที
– ท่อก๊าซควรมีการจัดเก็บให้ห่างจากแหล่งกําเนิดความร้อน
สายท่อก๊าซและการรอยข้อต่อ
ข้อต่อสายท่อก๊าซจะต้องรัดแน่นหรือถูกทําให้ติดเข้าด้วยกันในลักษณะที่ทนความดันอย่างน้อย 2 เท่าที่ใช้งานปกติ แต่ไม่น้อยกว่า 300 psi และไม่ควรใช้ Jubilee clip รัดสายท่อก๊าซแทน Hose clamping device เนื่องจากหากมีการสวมใส่ไม่รัดแน่น (Under-tightened) หรือ การสวมใส่ที่รัดแน่นเกินไป (Over-tightened) อาจเป็นสาเหตุทําให้สายท่อก๊าซรั่วซึม
รูปที่ 5 ภาพ Jubilee clip
รูปที่ 6 ภาพตัวอย่างการสวมใส่ที่รัดแน่นเกินไปและผ่านการใช้งานมาระยะหนึ่ง
ดังนั้น ควรมีการตรวจสอบและทดสอบหารอยรั่วของสายท่อก๊าซ รอยไหม้รอบนอก และข้อบกพร่องต่างๆ อยู่อย่างสม่ําเสมอ หากมีการตรวจพบจะต้องซ่อมแซมหรือเปลี่ยนใหม่มาทดแทนทันที
SE SAVER เป็นเครื่องเชื่อมด้วยแก๊สที่มีอุปกรณ์ความปลอดภัยอย่างครบครัน ทั้งอุปกรณ์ป้องกันไฟไหลย้อนกลับ อุปกรณ์ตัดแก๊สทันทีขณะไม่ใช้งานเพื่อป้องกันอันตรายต่างๆ จากแก๊สที่เกิดขึ้น อีกทั้งยังประหยัดเชื้อเพลิงในระหว่างการทำงานได้ แท่นวางด้ามจับที่ตัดไฟอัตโนมัติเพื่อป้องกันกรณีด้ามจับร่วงหล่นลงพื้น ไม่ให้เปลวไฟลุกลามไปยังจุดอื่นๆ แลยยังจัดไฟในเปลวไฟเดิมได้ทันทีเพื่อเพิ่มความต่อเนื่องในการใช้งาน
l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l
ที่มา http://php.diw.go.th/safety/wp-content/uploads/2014/12/6.1.pdf