ความร้อนแฝง (Latent Heat) คือ ปริมาณความร้อนที่สารใช้ในการเปลี่ยนแปลงสถานะ โดยอุณหภูมิ ในขณะที่สารกำลังเปลี่ยนสถานะนั้นคงที่ไม่เปลี่ยนแปลง
ความร้อนแฝงจำเพาะ (Specific Latent Heat) คือ ปริมาณความร้อนที่สารมวล 1 หน่วย ได้รับหรือคายออก เพื่อใช้เปลี่ยนสถานะ โดยที่อุณหภูมิไม่เปลี่ยนแปลง มีหน่วยเป็นหน่วยปริมาณความร้อนต้อหน่วยมวล เช่น แคลอรีต่อกรัม กิโลแคลอรีต่อกิโลกรัมหรือจูลต่อกิโลกรัม
สูตรเกี่ยวกับความร้อนแฝง คือ
ความร้อนแฝงจำเพาะ (Specific Latent Heat, L ) คือความร้อนที่ทำให้สาร(วัตถุ) มวลหนึ่งหน่วยเปลี่ยนสถานะไปจนหมด เช่น น้ำ ที่ความดัน 1 บรรยากาศ ความร้อนที่ทำให้น้ำแข็ง 1 กิโลกรัม อุณหภูมิ 0 องศาเซลเซียส หลอมเหลวกลายเป็นน้ำหมดที่อุณหภูมิ 0 องศาเซลเซียส จะใช้ความร้อน 333 กิโลจูล
ดังนั้น ความร้อนแฝงจำเพาะของการหลอมเหลวของน้ำ คือ Lf
Lf = 333 kJ/kg
และที่ความดัน 1 บรรยากาศ ความร้อนที่ทำให้น้ำ 1 กิโลกรัม อุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียสกลายเป็นไอน้ำหมดที่อุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส จะใช้ความร้อน 2256 กิโลจูล
ดังนั้น ความร้อนแฝงจำเพาะของในการกลายเป็นไอของน้ำ คือ Lv
Lv = 2256 kJ/kg
นั่นคือ ถ้าให้ Q คือความร้อนที่ทำให้สาร(วัตถุ) มวล m เปลี่ยนสถานะหมดคือ
Q=mL
เมื่อ Q = ความร้อนแฝง หรือปริมาณความร้อนที่วัตถุได้รับหรือคายออก มีหน่วยเป็นแคลอรี (cal) กิโลแคลอรี (kcal) หรือ จูล (J)
m = มวลของวัตถุ มีหน่วยเป็นกรัม (g) หรือ กิโลกรัม (kg)
L = ความร้อนแฝงจำเพาะของวัตถุ มีหน่วยเป็นแคลอรีต่อกรัม (cal/g) กิโลแคลอรีต่อกิโลกรัม(kcal/kg) หรือ จูลต่อกิโลกรัม ( J/Kg)
การเปลี่ยนสถานะของสาร
สารและสิ่งของที่อยู่รอบตัวเราพบว่ามีอยู่ 3 สถานะ คือ ของแข็ง(น้ำแข็ง) ของเหลว(น้ำ) และแก๊ส(ไอน้ำ) ได้
1. ของแข็ง แรงดึงดูดระหว่างโมเลกุลมีค่ามาก ทำให้โมเลกุลอยู่ใกล้กัน จึงทำให้รูปทรงของของแข็งไม่เปลี่ยนแปลงมากเมื่อมีแรงขนาดไม่มากนักมากระทำ ตามคำจำกัดความนี้ เหล็ก คอนกรีต ก้อนหิน เป็นของแข็ง
2. ของเหลว แรงดึงดูดระหว่างโมเลกุลมีค่าน้อย โมเลกุลจึงเคลื่อนที่ไปมาได้บ้าง จึงทำให้รูปทรงของของเหลวเปลี่ยนแปลงไปตามภาชนะที่ที่บรรจุ น้ำ น้ำมัน ปรอท เป็นของเหลว
3. แก๊ส แรงดึงดูดระหว่างโมเลกุลมีค่าน้อยมาก จนโมเลกุลของแก๊สอยู่ห่างกันมากและเคลื่อนที่ได้สะเปะสะปะ ฟุ้งกระจายเต็มภาชนะที่บรรจุ เช่นอากาศและแก๊สชนิดต่างๆ
รูป แสดงการเปลี่ยนสถานะของน้ำเมื่อได้รับความร้อน
ถ้าเรานำน้ำแข็งที่อุณหภูมิ –20 ℃ ที่ความดันบรรยากาศ 1 บรรยากาศ ความร้อนทำให้น้ำแข็งมีการเปลี่ยนแปลงเป็นช่วงๆ คือ
1. น้ำแข็งที่อุณหภูมิ –20 ℃ กลายเป็นน้ำแข็ง 0 ℃ (เป็นค่า c ของน้ำแข็ง)
2. น้ำแข็ง 0 ℃ ละลายกลายเป็นน้ำ 0 ℃
3. น้ำ 0 ℃ อุณหภูมิสูงขึ้นจนเป็นน้ำ 100 ℃ (เป็นค่า c ของน้ำ )
4. น้ำ 100 ℃ เดือดกลายเป็นไอน้ำ 100 ℃
การขยายตัวของวัตถุเนื่องจากความร้อน
วัตถุโดยทั่วไปเมื่อได้รับความร้อนจะขยายตัว การขายตัวของวัตถุจะขึ้นอยู่กับรูปร่างลักษณะของวัตถุเช่น วัตถุที่มีความยาวมีลักษณะเป็นเส้นหรือแท่งยาว จะมีการขยายตัวตามเส้น (การขยายตัวตามยาว) วัตถุที่เป็นแผ่นจะมีการขยายตัวตามพื้นที่ วัตถุที่มีรูปร่างเป็นปริมาตรจะมีการขยายตัวตามปริมาตร ในทางกลับกันถ้าวัตถุสูญเสียความร้อนก็จะหดตัว
สมบัติที่สำคัญๆ เกี่ยวกับการขยายของของแข็ง ได้แก่
1. ของแข็งต่างชนิดกัน ถ้าเดิมมีความยาวเท่ากัน เมื่อร้อนขึ้นเท่ากันจะมีส่วนขยายตัวเพิ่มขึ้นไม่เท่ากัน
2. ของแข็งชนิดเดียวกัน ถ้าเดิมมีความยาวเท่ากัน เมื่อร้อนขึ้นเท่ากันจะมีส่วนขยายตัวเพิ่มขึ้นเท่ากัน
3. การขยายตัวของวัตถุเป็นเรื่องที่สำคัญมากในทางวิศวกรรม เช่น การวางเหล็กรางรถไฟ การขึงสายไฟฟ้าแรงสูงเป็นต้น
ความร้อนแฝงจำเพาะของการหลอมเหลว คือ ปริมาณความร้อนที่สารใน 1 หน่วยได้รับ เพื่อใช้เปลี่ยนสถานะจากของแข็งให้กลายเป็นของเหลว โดยที่อุณหภูมิไม่เปลี่ยนแปลง เช่น ความร้อนแฝงจำเพาะของน้ำแข็งมีค่าเท่ากับ 80 แคลอรีต่อกรัม 80 กิโลแคลอรีต่อกิโลกรัม
ความร้อนแฝงจำเพาะของการแข็งตัว คือ ปริมาณความร้อนที่สารมวล 1 หน่วย คายออก เพื่อใช้เปลี่ยนสถานะจากของเหลวให้กลายเป็นของเหลวให้กลายเป็นของแข็ง โดยที่อุณหภูมิไม่เปลี่ยนแปลงความร้อนแฝงจำเพาะของการแข็งตัวนี้จะมีค่าเท่ากับความร้อนแฝงจำเพาะของการหลอมเหลว คือ 80 แคลอรีต่อกรัม 80 กิโลแคลอรีต่อกิโลกรัม
ความร้อนแฝงจำเพาะกลายเป็นไอ คือ ปริมาณความร้อนที่สารมวล 1 หน่วยได้รับ เพื่อใช้เปลี่ยนสถานะจากของเหลวให้กลายเป็นไอโดยที่อุณหภูมิไม่เปลี่ยนแปลง เช่น ความร้อนแฝงจำเพของไอน้ำเดือดมีค่าเท่ากับ 540 แคลอรีต่อกิโลกรัม
ความร้อนแฝงจำเพาะของการกลั่นตัว คือ ปริมาณความร้อนที่สาร มวล 1 หน่วยคายออก เพื่อใช้เปลี่ยนสถานะจากไอให้กลายเป็นของเหลวโดยที่อุณหภูมิไม่เปลี่ยนแปลง ความร้อนแฝงจำเพาะของการกลั้นตัวนี้จะมีค่าเท่ากับความร้อนแฝงจำเพาะของการกลายเป็นไอ
ที่มา —————> http://cms571.bps.in.th/project3107/latent-heat
สามารเข้าชมสินค้า S A J I ได้ที่ https://sa-thai.com/shop/
Thanks very nice blog!