แก๊ส กับ ก๊าซ ต่างกันอย่างไร ?

แก๊ส กับ ก๊าซ ต่างกันอย่างไร

แก๊ส กับ ก๊าซ ต่างกันอย่างไร ในอุตสาหกรรมปิโตรเลียม คำว่า ก๊าซ จะหมายถึงทรัพยากรธรรมชาติที่ขุดเจาะขึ้นมาจากใต้ทะเลหรือแหล่งอื่นๆ โดยยังไม่ได้ผ่านการแปรรูปเพื่อใช้ประโยชน์ใดๆ ทั้งสิ้น

ส่วนคำว่า แก๊สจะหมายถึงก๊าซธรรมชาติ ที่นำมาแปรรูปและบรรจุถังหรือส่งไปตามท่อ เพื่อนำไปใช้ การแปรรูปในที่นี้รวมถึงการผสมกลิ่นเพื่อให้เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว เพราะตามปกติก๊าซธรรมชาติแต่ดั้งเดิมจะไม่มีสี ไม่มีกลิ่น หากรั่วไหลผู้ใช้อาจไม่ทราบ จึงต้องผสมกลิ่น ที่เหม็นเพื่อเป็นจุดสังเกต และช่วยให้ผู้ใช้สามารถป้องกันอัคคีภัยที่อาจเกิดขึ้นได้อย่างทันท่วงทีครับ

แก๊ส หรือที่เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ก๊าซ เป็นสสารที่มีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลน้อยมาก ทำให้ฟุ้งกระจายเต็มภาชนะที่บรรจุตลอดเวลา ปริมาตรและรูปร่างไม่แน่นอนเปลี่ยนแปลงไปตามลักษณะของภาชนะที่บรรจุ

เท่านี้เราก็พอสังเขปได้แล้วว่า แก๊ส กับ ก๊าซ ต่างกันอย่างไร ถ้าอยากรู้รายละเอียดเพิ่มเติมลงไปอีก อ่านความรู้ต่อไปนี้กันเลย

คุณสมบัติของแก๊ส

คุณสมบัติของแก๊ส สามารถอธิบายได้คร่าวๆ ดังนี้

  • แก๊สมีรูปร่างเป็นปริมาตรไม่แน่นอน เปลี่ยนแปลงไปตามภาชนะที่บรรจุ บรรจุในภาชนะใดก็จะมีรูปร่างเป็นปริมาตรตามภาชนะนั้น เช่น ถ้าบรรจุในภาชนะทรงกลมขนาด 1 ลิตร แก๊สจะมีรูปร่างเป็นทรงกลมมีปริมาตร 1 ลิตร เพราะแก๊สมีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาคน้อยมากจึงทำให้อนุภาคของแก๊สสามารถเคลื่อนที่หรือแพร่กระจายเต็มภาชนะที่บรรจุ
  • ถ้าให้แก๊สอยู่ให้ภาชนะที่ได้ ปริมาตรของแก๊สจะขึ้นอยู่กับอุณหภูมิ ความดันและจำนวนโมลดังนั้นเมื่อบอกปริมาตรของแก๊สจะต้องบอกอุณหภูมิ ความดันและจำนวนโมล
  • สารที่อยู่ในสถานะแก๊สมีความหนาแน่นน้อยกว่าเมื่ออยู่ในสถานะของแข็งและของเหลวมาก
  • แก๊สสามารถแพร่ได้ และแพร่ได้เร็ว เพราะแก๊สมีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลน้อยกว่าของเหลวและของแข็ง
  • แก๊สต่างๆ ตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไปเมื่อนำมาใส่ในภาชนะเดียวกันแก๊สแต่ละชนิดจะแพร่ผสมกันอย่างสมบูรณ์ทุกส่วนนั้นคือส่วนผสมของแก๊สเป็นสารเดียวหรือเป็นสารละลาย
  • แก๊สส่วนใหญ่ไม่มีสีและโปร่งใสเช่นแก๊สออกซิเจน แก๊สไฮโดรเจน เป็นต้น

แก๊สแบ่งออกได้ 2 ประเภท คือ

  • แก๊สสมบูรณ์ ( Ideal gas ) หรือก๊าซอุดมคติ หมายถึง ก๊าซที่มีสมบัติเป็นไปตามกฎต่าง ๆ ของก๊าซ ไม่ว่าที่ภาวะใด ๆ ก็ตาม ซึ่งตามความเป็นจริงแล้ว ก๊าซในธรรมชาตินั้นไม่มีที่จะเป็นไปตามกฎต่าง ๆ ได้ทุกประการ แต่เป็นเรื่องที่นักวิทยาศาสตร์ได้คิดสมมติขึ้นเพื่อจะใช้อธิบายพฤติกรรมของก๊าซต่าง ๆ ในธรรมชาติเท่านั้น
  • แก๊สจริง ( Real gas ) หมายถึง ก๊าซที่มีอยู่ในธรรมชาติทั่ว ๆ ไป ซึ่งจะไม่เป็นไปตามกฎต่าง ๆ ตามก๊าซสมมติทุกประการ โดยเฉพาะที่อุณหภูมิต่ำและความดันสูงมาก ๆ อย่างไรก็ตามก๊าซจริงจะมีสมบัติใกล้เคียงกับก๊าซสมบูรณ์ได้เมื่ออุณหภูมิสูงและความดันต่ำ

 

ก๊าซธรรมชาติ (Natural Gas Vehicles: NGV) และก๊าซปิโตรเลียมเหลว (Liquefied Petroleum Gas: LPG)

NGV กับ LPG ต่างกันอย่างไร

  • ก๊าซธรรมชาติ (NGV) เป็นสารประกอบไฮโดรคาร์บอนซึ่งมีองค์ประกอบของก๊าซมีเทน (Methane) เป็น ส่วนใหญ่ จึงเป็นก๊าซที่มีน้ำหนักเบากว่าอากาศ การขนส่งไปยังผู้ใช้จะขนส่งผ่านทางท่อในรูปก๊าซภายใต้ ความดันสูง จึงไม่เหมาะสำหรับการขนส่งไกลๆ หรืออาจบรรจุใส่ถังในรูปก๊าซธรรมชาติอัดโดยใช้ความดันสูง หรือที่เรียกว่า CNG แต่ปัจจุบันมีการส่งก๊าซธรรมชาติในรูปของเหลวโดยทำก๊าซให้เย็นลงถึง –160 องศา เซลเซียสจะได้ของเหลวที่เรียกว่า Liquefied Natural Gas หรือ LNG ซึ่งสามารถขนส่งทางเรือไปที่ไกลๆ ได้ และเมื่อถึงปลายทางก่อนนำมาใช้ก็จะทำให้ของเหลวเปลี่ยนสถานะกลับเป็นก๊าซอย่างเดิม ก๊าซธรรมชาติมีค่า ออกเทนสูงถึง 120 RON จึงสามารถนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงในยานยนต์ได้
  •  ก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) เป็นสารประกอบไฮโดรคาร์บอน ซึ่งมีองค์ประกอบของก๊าซโพรเพน (Propane) เป็นส่วนใหญ่ จึงเป็นก๊าซที่หนักกว่าอากาศ โดยตัว LPG เองไม่มีสี ไม่มีกลิ่นเช่นเดียวกับก๊าซธรรมชาติ แต่เนื่องจากเป็นก๊าซที่หนักกว่าอากาศจึงมีการสะสมและลุกไหม้ได้ง่าย ดังนั้น จึงมีข้อกำหนดให้เติมสารมีกลิ่น เพื่อเป็นการเตือนภัยหากเกิดการรั่วไหล LPG ส่วนใหญ่จะใช้เป็นเชื้อเพลิงในครัวเรือนและกิจการอุตสาหกรรม โดยบรรจุเป็นของเหลวใส่ถังที่ทนความดันเพื่อให้ขนถ่ายง่าย นอกจากนี้ ยังนิยมใช้แทนน้ำมันเบนซินในรถยนต์ เนื่องจากราคาถูกกว่า และมีค่าออกเทนสูงถึง 105 RON

ค่าออกเทน (Octane number)

หมายถึง หน่วยการวัดความสามารถ ในการต้านทานการน็อคของเครื่องยนต์ 2. RON (Research Octane Number) เป็นค่าออกเทนที่มีประสิทธิภาพต่อต้านการน็อคในเครื่องยนต์หลายสูบ ที่ทำงานอยู่ในรอบของช่วงหมุนต่ำ โดยใช้เครื่องยนต์ทดสอบมาตรฐานภายใต้สภาวะมาตรฐาน 600 รอบ ต่อนาที 3. MON (Motor Octane Number) เป็นค่าออกเทนที่มีประสิทธิภาพต่อต้านการน็อคในเครื่องยนต์หลายสูบ ในขณะทำงานที่รอบสูง โดยใช้เครื่องยนต์ทดสอบมาตรฐานภายใต้สภาวะมาตรฐาน 900 รอบต่อนาที

ค่าแรงดันก๊าซ 

LPG ขณะอยู่ในถังมีสถานะเป็นของเหลว มีค่าแรงดัน 100-130 PSI ( ปอล์นต่อตารางนิ้ว) หรือ 4-6 BAR
NGV ขณะอยู่ในถังมีสถานะเป็นก๊าซ มีค่าแรงดัดประมาณ 2200-2800 PSI หากเติมเต็มๆจะถึง 3000 PSI หรือ 200 BAR

 


ที่มา————————->http://xn--12c7bib7al3b7aeb6bob9a6x.com/

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *