เรื่องของแก๊ส

แก๊ส เป็นสถานะหนึ่งของสสารต่าง ๆ ซึ่งมีรูปร่างไม่แน่นอนเปลี่ยนไปตามภาชนะที่บรรจุ แต่มีปริมาตรที่แน่นอน โดยแก๊สจะฟุ้งเต็มภาชนะปิดอยู่เสมอ ถ้าให้แก๊สอยู่ในภาชนะที่เปลี่ยนแปลงปริมาตรได้ ปริมาตรของแก๊สจะขึ้นอยู่กับอุณหภูมิ ความดันและจำนวนโมล ดังนั้นเมื่อบอกปริมาตรของแก๊สจะต้องบอกอุณหภูมิ ความดันและจำนวนโมลด้วย

แก๊ส ส่วนใหญ่ไม่มีสีและโปร่งใส่เช่นแก๊สออกซิเจน(O2)แก๊สไฮโดเจน(H2) แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์(CO2)แต่แก๊สบางชนิดมีสี เช่น แก๊สไนโตเจนไดออกไซด์ (NO2) มีสีน้ำตาลแดง แก๊สคลอรีน(Cl2) มีสีเขียวแกมเหลือง แก๊สโอโซน (O3) ที่บริสุทธิ์มีสีน้ำเงินแก่ เป็นต้น

แก๊สมีอยู่หลายแบบ
1. แก๊สอะตอมเดี่ยว
คือ แก๊สที่ประกอบด้วยธาตุเดียว อะตอมเดียว เช่น ฮีเลียม ซีนอน นีออน เป็นต้น

2. แก๊สอะตอมคู่
คือ แก๊สที่ประกอบด้วยธาตุเดียว แต่มี 2 อะตอม เช่น O2, H2 เป็นต้น

3. แก๊สที่เป็นโมเลกุล
คือ มีธาตุเดียว หรือหลายธาตุมาประกอบกันแต่ต้องมีอะตอมรวมมากกว่า 2 อะตอม

ธาตุ 1 อะตอม มีมวลเท่ากับ เลขมวลของธาตุนั้นในหน่วย U แก๊ส 1 โมเลกุล จึงมีมวลเท่ากับ มวลโมเลกุลในหน่วย U และ 6.02 x 1023 U = 1 กรัม จึงกำหนดหน่วย โมล (mole) ขึ้น ซึ่ง แก๊ส 1 โมล มีจำนวน 6.02 x 1023 โมเลกุล

จึงสามารถเปลี่ยนจากหน่วยโมลของแก๊สไปเป็นมวลของแก๊สได้ตามสูตร

สูตรของความหนาแน่นคือ   

โดยที่

mole คือ จำนวนโมลของแก๊ส
m คือ มวลของแก๊สในหน่วยกรัม
M คือ มวลของโมเลกุลของแก๊ส

 


ที่มา https://panyasociety.com/

สนใจดูสินค้า SAJI ได้ที่ https://sa-thai.com/shop/

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *