รังสี (radiation) คือ พลังงานที่แผ่มาจากแหล่งหนึ่งไปยังอีกแหล่งหนึ่งซึ่งอาจสามารถทะลุผ่านวัตถุชนิดต่างๆได้
โดยเดินทางผ่านบรรยากาศ แบ่งได้เป็นสองประเภท คือ รังสีอะไร มีกี่ชนิด
1.รังสีไม่ก่อประจุ (non-ionizing radiation) รังสีชนิดนี้เป็นรังสีที่มีพลังงานต่ำ อยู่ในช่วงต่ำของแถบคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (electromagnetic spectrum) เช่น แสงอาทิตย์ แสงอินฟราเรด คลื่นไมโครเวฟ และคลื่นวิทยุ เป็นต้น
2.รังสีก่อประจุ (ionizing radiation) รังสีชนิดนี้เกิดจากอะตอมหรือธาตุที่ไม่เสถียร ซึ่งเรียกว่า ธาตุกัมมันตรังสี (radioactive element) เช่น ยูเรเนียม และทอเรียมที่ใช้เป็นเชื้อเพลิงในการทำปฏิกิริยานิวเคลียร์
อะตอมที่ไม่เสถียรเหล่านี้จะมีพลังงานหรือมวลสารจำนวนมาก ดังนั้นการที่อะตอมจะเสถียรขึ้นได้นั้น พวกมันจะต้องปลดปล่อยรังสีซึ่งเป็นพลังงานหรือมวลสารที่มีมากเกินไปออกมา การแผ่รังสีได้เองอย่างต่อเนื่องของธาตุกัมมันตรังสีนี้ เรียกว่า กัมมันตภาพรังสี (radioactivity) โดยรังสีที่อะตอมหรือธาตุที่ไม่เสถียรปลดปล่อยออกมาเป็นรังสีก่อประจุที่มักพบได้ 4 ชนิดหลักดังนี้
- รังสีแอลฟา เป็นสารหนักและเคลื่อนไหวในระยะสั้น เป็นรังสีที่ไม่สามารถเจาะทะลุผิวหนังมนุษย์หรือเสื้อผ้าได้ สารที่ปล่อยรังสีแอลฟาเป็นอันตรายได้ถ้าสูดดม กลืน หรือซึมซับผ่านแผลเปิด ตัวอย่างสารที่ปล่อยรังสีแอลฟา เช่น เรเดียม เรดอน ยูเรเนียม และ ธอเรียม
- รังสีเบต้า เป็นสารเบาและเคลื่อนไหวในระยะสั้น สามารถทะลุทะลวงปานกลาง ทะลุผิวหนังมนุษย์ได้ถึงชั้นที่ผลิตเซลล์ใหม่ ตัวอย่างเช่น สตรอนเทียม-90 คาร์บอน-14 ทรีเทียม และซัลเฟอร์-35
- รังสีแกมมาและรังสีเอ็กซ์ เป็นรังสีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีพลังทะลุทะลวงสูง สามารถแผ่กระจายทางอากาศได้หลายเมตร ผ่านผิวหนังได้หลายนิ้ว และทะลุทะลวงวัตถุส่วนใหญ่ รังสีแกมมาและรังสีเอ็กซ์มักจะแผ่รวมกับรังสีแอลฟาและรังสีเบต้าในช่วงที่เกิดการย่อยสลายของสารกัมมันตรังสี ตัวอย่างสารแกมมา เช่น ไอโอดีน-131 ซีเซียม-173 โคบอลท์-60 และเรเดียม-226
รังสี วัดได้อย่างไงบ้าง
การวัดค่ารังสีเพื่อควบคุมหรือประเมินความอันตรายเป็นเรื่องที่ซับซ้อน จึงมีหน่วยที่ใช้วัดหลายหน่วยด้วยกันขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ที่ต้องการวัด
- หากต้องการวัดปริมาณรังสีที่แผ่ออกมา จะวัดโดยใช้หน่วยเดิมทีเรียกว่า คูรี (Ci) หรือหน่วยสากลเรียกว่า เบคเคอเรล (Bq)
- หากต้องการวัดปริมาณรังสีที่คนได้รับหรือที่ดูดซับโดยเนื้อเยื่อของร่างกาย จะวัดโดยใช้หน่วยเดิมที่เรียกว่า แรด (Rad: Roentgen absorbed dose) หรือหน่วยสากลเรียกว่า เกรย์ (Gr: Gray)
- หากต้องการวัดความเสี่ยงต่อสุขภาพจากรังสี หรือที่เรียกว่า ‘รังสีสมมูล’ จะวัดใช้หน่วยเดิมทีเรียกว่า เรม (Rem: Roentgen equivalent in man) หรือหน่วยสากลเรียกว่า ซีเวิร์ต (Sv: Sievert)
หน่วยที่วัดใช้รังสี | หน่วยเดิม | หน่วยใหม่ |
กัมมันตภาพรังสี (1คูรีเท่ากับ 37000 ล้านเบคเคอเรล) | คูรี | เบคเคอเรล |
รังสีที่ถูกดูดกลืน (1 เกรย์เท่ากับ 100 แรด) | แรด | เกรย์ |
รังสีสมมูล (1 ซีเวิร์ตเท่ากับ 100 เรม) | เรม | ซีเวิร์ต |
ปริมาณของรังสีจากเเหล่งต่างๆที่ได้รับต่อปี
ขอบคุณที่มา : https://www.mtec.or.th/post-knowledges/3923/
หากมีข้อสงสัยหรืออยากสอบถามเพิ่มเติม สามารถติดต่อได้ที่นี่ https://sa-thai.com/
l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l